บทที่2



บทที่2

2.วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
             ความหมายของคำ
             คำ เป็นกลุ่มเสียงที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏได้โดยอิสระและมีความหมาย
             คำ ต้องเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเสมอ ส่วนพยางค์ เป็นกลุ่มเสียงเช่นกัน ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์   พยางค์ 1 พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ 1 คำ ถ้าพยางค์1 พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ คำพยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น
                        ดี               1     พยางค์     1     คำ

                        สัปดาห์       2     พยางค์     1     คำ
                       ชนบท          3    พยางค์     1      คำ
                        ราชธานี       4    พยางค์      1     คำ
           ชนิดของคำ
           ตามหลักภาษาไทยแบ่งได้ 7 ชนิด คือ
           1.คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เรียกว่า คำนาม คำนามจะเป็นชื่อที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรืออาจเป็นคำเกี่ยวกับนามธรรม เช่น
               นามเกี่ยวกับคน เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า สุกรี เจี๊ยบ ปิ๋ว
               นามเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ปู ปลา
               นามเกี่ยวกับสิ่งของ เช่น
  • ร่างกาย เช่น มือ หูตา
  • ของใช้ เช่น ดินสอ แก้ว
  • ที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ตึก
  • ธรรมชาติ เช่น ลม น้ำ ไฟ ดิน ดาว
               นามที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความรัก ความชั่ว
            2.คำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เรียกว่า คำสรรพนาม เช่น ผม เธอ ท่านคุณ ข้าพเจ้า
  • คำที่แสดงอาการหรือแสดงสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เรียกว่า คำกริยา เช่น นั่ง พูด กิน เดิน อ่าน เที่ยว นอน ทำ เขียน
  • คำที่ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความชัดเจนขึ้น เรียกว่า คำวิเศษณ์ เช่น สวย งาม ดี ชั่ว สด
  • คำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือ คำกริยา ที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เพื่อบอกให้รู้หน้าที่ ี่หรือตำแหน่งของคำเหล่านั้น  เรียกว่า คำบุพบท เช่น ใน บน ของ ที่ จน    
  • คำที่ใช้เชื่อมคำหรือความให้เป็นเรื่องเดียวกัน เรียกว่า คำสันธาน เช่น และ จึง ถ้า เพราะ
  • คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ เรียกว่า คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยมิได้ตั้งใจจะให้มีความหมายประการใด แต่สามารถสื่อให้รู้สึกว่ามีความรู้สึกอย่างไร เช่น อุ๊ย โอ๊ย เอ๊ะ อพิโธ

            หน้าที่ของคำ

            คำต่างๆไม่ว่าจะเป็นคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานจะเข้าประโยคโดยการเรียงคำในประโยค คำใดจะทำหน้าที่อะไร และจะเป็นคำชนิดใดนั้น จะดูได้จากตำแหน่งของคำในประโยค เช่น คำว่า " ขัน " เราไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นคำนา คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จนกว่าคำนั้นจะเข้ารูปประโยค เช่น
  • ไก่ขันตอนเช้า
  • ฉันลุกขึ้นนำขันไปตักน้ำล้างหน้า
  • ฉันเห็นเจ้าปุยเดินมาดูน่าขัน
           คำว่า " ขัน " เมื่อเข้าประโยคจะบอกหน้าที่ของคำในประโยคว่า ขัน คำแรกเป็นคำกริยา ขัน คำที่สองเป็นคำนาม และขันคำที่สามเป็นคำวิเศษณ์

           1.คำนาม                                                                                                                                                                      คำนาม เป็นคำเรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นคำที่เห็นได้จับต้องได้ และคำที่แสดงนามธรรม เป็นคำที่แสดง บาป บุญ คุณ โทษ หรือคำที่แสดงทางจิตใจ เช่น ความดี ความชั่ว ความสามัคคีเป็นต้น คำนามเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค
            ชนิดของคำนาม           คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

  1. สามานยนาม เป็นคำนามที่เป็นชื่อทั่วไป เช่น เมฆ ฝน คน ต้นไม้ แมว
  2. วิสามานยนาม เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะ เช่น โบว์ เจี๊ยบ ปิ๋ว กิ่ง
  3. สมุหนาม เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เช่น ฝูง คณะ บริษัท
  4. ลักษณนาม เป็นคำนามที่ใช้บอกลักษณะของคำสามานยนาม
           คำลักษณนามแบ่งออกได้ ดังนี้
  • ลักษณยามบอกชนิด เช่น พระพุทธรูป 2 องค์ พระภิกษุ 2 รูป เลื่อย 2 ปื้น ขลุ่ย 2 เลา
  • ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ 4 มวน พลู 2 จีบ ไต้ 5 มัด ดอกไม้ 3 กำ ผ้า 7 พับ
  • ลักษณนามบอกรูปร่าง เช่น รถ 1 คัน อิฐ 2 ก้อน ไม้ไผ่ 3 คำ สร้อย 5 สาย ไม้ขีด 1 กลัก
  • ลักษณนามบอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน 1 กอง เสิ้อ 3 ชุด นก 2 ฝูง คน 5 พวก นักเรียน 4 คณะ
  • ลักษณนามบอกจำนวนหรือมาตรา เช่น ตะเกียบ 2 คู่ ดินสอ 5 โหล งา 3 ลิตร ขนม 20 ถุง
  • ลักษณนามซ้ำคำนามข้างหน้า ได้แก่ วัด 2 วัด อำเภอ 2 อำเภอ คน 2 คน คะแนน 10 คะแนน
       5. อาการนาม เป็นคำนามที่เกิดจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ และ ความ นำหน้า
  • การ จะนำหน้าคำกริยา เช่น การนั่ง การเดิน การกิน การนอน การออกเสียง การปราศรัย
  • ความ จะนำหน้าคำกริยาที่เป็นความนึกคิดทางจิตใจ เช่น ความคิด ความรัก ความดี ความเข้าใจ
          *** ข้อสังเกต*** ถ้า การ และ ความ นำหน้าคำนาม **จะเป็นคำประสมที่มิใช่อาการนาม** เช่น การบ้าน การเมือง การไฟฟ้า ความแพ่ง ความอาญา ความศึก
           หน้าที่ของคำนาม
           คำนามมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
  •  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
    • นักเรียน เรียนหนังสือ
    • หมา กัดแมว
    • บรรจง เขียนจดหมาย
  •  ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น
    • นักเรียนกิน ข้าว
    • ความดีทำให้เกิด ความสุข
    • เด็กๆเตะ ฟุตบอลในสนาม         
  •  ใช้ขยายนามเพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น
    • นายสุวัฒน์ ทนายความฟ้องนายปัญญา พ่อค้า
    • นายบุญมาเป็นข้าราชการ ครู
  •  ใช้เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น
    • เขาเป็นครูแต่น้องเป็น หมอ
    • เขาเหมือน พ่อ
  •  ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น เช่น
    • เธออยู่ใน ห้อง                    ( ตามหลังบุพบทใน )
    • เขาอยู่ที่ เชียงใหม่               ( ตามหลังบุพบทที่ )
    • เขาไป โรงเรียน                   ( ขยายกริยาไป )
  •  ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น
    • เขาชอบมา ค่ำๆ
    • พ่อจะไปเชียงใหม่ วันอาทิตย์
    • มะนาว หน้าแล้งราคาแพง
  •  ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น
    • คุณแม่ค่ะ   คุณป้ามาหาค่ะ
    • สุดา   ช่วยหาของให้ฉันทีซิ
    • นักเรียน เธอรีบทำงานเร็วๆ

            2.คำสรรพนาม                                                                                                                                                               คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วเพื่อทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น
            ชนิดของคำสรรพนาม
            คำสรรพนามแบ่งได้ 6 ชนิด คือ
            1.บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง แบ่งออกเป็น
               บุรุษที่ 1 ได้แก่ ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน เรา อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด
               บุรุษที่ 2 ได้แก่ เธอ ท่าน คุณ ใต้เท้า พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท แก เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย
               บุรุษที่ 3 ได้แก่ เขา พวกเขา มัน พระองค์ เป็นบุรุษสรรพนามที่เราพูดถึงหรือผูพูดกล่าวถึง
            2.ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ทำหน้าที่แทนคำนาม หรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า และยังทำหน้าที่เชื่อมประโยคโดยให้ประโยค 2 ประโยคมีความเชื่อมกัน ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
  • บุคคล ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงิน 100 บาท
  • ผู้หญิง ที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นย่าของผม
  • ไม้บรรทัด อันวางบนโต๊ะเป็นของเธอ
            3.วิภาคสรรพนาม เป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำที่ ใช้แทนนามหรือสรรพนาม ที่แยกออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นคนๆ หรือพวก ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
  • นักกีฬา ต่างดีใจที่ได้ชัยชนะ
  • เด็กนักเรียน บ้างก็อ่านหนังสือ บ้างก็ร้องเพลง
  • พี่น้องคุยกัน
            4.นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทางให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
  • นี่ เป็นกระเป๋าใบที่เธอให้ฉัน
  • โน่น เป็นเทือกเขาถนนธงชัย
  • นี่ เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน
              อนิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ เช่น
  • ใคร จะไปกับคุณพ่อก็ได้
  • ผู้ใด เป็นคนชั่ว เราก็ไม่ไปคบค้าสมาคมด้วย                 
  •   ไหนๆ ก็นอนได้
              ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้ถามที่ใช้แทนนามที่มีเรื้อความเป็นคำถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน ปฤจฉาสรรพนามต่างกับอนิยมสรรพนาม ก็คือ อนิยมสรรพนามใช้ในประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้ในประโยคคำถาม เช่น
  • ใคร มาหาฉัน ?
  • อะไร อยู่ใต้โต๊ะ ?
  • ไหน เป็นบ้านของเธอ ?
            หน้าที่ของคำสรรพนาม
            สรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม ดังนี้
  •   ใช้เป็นประธานของประโยค เช่น
    • เขา ไปกับคุณพ่อ
    • ใคร อยู่ที่นั่น
    • ท่าน ไปกับผมหรือ
  •   ใช้เป็นกรรมของประโยค เช่น
    • แม่ด ุฉัน
    • เขา เอาอะไรมา
    • เด็กๆกิน อะไรๆก็ได้
  •   เป็นผู้รับใช้ เช่น
    • คุณแม่ให้ฉันไปสวน
  •   เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น
    • คุณเป็น ใคร
  •   ใช้เชื่อมประโยค เช่น
    • เขาพาฉันไปบ้าน ที่ฉันไม่เคยไป
    • เขามีความคิด ซึ่งไม่เหมือนใคร
    • คน ที่ไปกับเธอเป็นน้องฉัน
  •   ใช้ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นความที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม
    • คุณคร ูท่านไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน
    • ฉันแวะไปเยี่ยมคุณครู ท่านมา
        **การใช้คำสรรพนาม มีข้อสังเกตดังนี้** คือ
  • บุรุษสรรพนามบางคำจะใช้เป็นบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ บุรุษที่ 3 ก็ได้
    • ท่าน มาหาใครครับ                     ( บุรุษที่ 2 )
    • เธอไปกับ ท่านหรือเปล่า              ( บุรุษที่ 3 )
    • เธอ อยู่บ้านนะ                           ( บุรุษที่ 2 )
  • บุรุษสรรพนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล วัยและเพศของบุคคล เช่น ผม ใช้กับผู้พูดเป็นชาย แสดงความสุภาพ , ข้าพระพุทธเจ้า ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้าายชั้นสูง เป็นต้น
  • คำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ในการสนทนา เช่น  ปุ๋ยมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ ( ปุ๋ยใช้แทนผู้พูด )

            3.คำกริยา                                                                                                                                                                     คำกริยา  คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค
            ชนิดของคำกริยา
            คำกริยาแบ่งได้ 5 ชนิด คือ
            1.อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
  • ฉันยืนแต่แม่นั่ง
  • ไก่ขัน แต่หมาเห่า
  • พื้นบ้านสกปรกมาก
            คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น
  • ฉัน สูงเท่าพ่อ
  • ดอกไม้ดอกน ี้หอม
  • พื้น สะอาดมาก
            2.สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
  • ฉัน กินข้าว
  • แม ่หิ้วถังน้ำ
  • พ่อ ขายของ    
            กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
  • ให้          ฉัน ให้ดินสอน้อง   หมายถึง  ฉัน ให้ดินสอแก่น้อง
  • แจก       ครู แจกดินสอนักเรียน   หมายถึง  คร ูแจกดินสอให้นักเรียน
  • ถวาย       ญาติโยม ถวายอาหารพระภิกษุ   หมายถึง  ญาติโยม ถวายอาหารแด่พระภิกษุ
                    ดินสอ   อาหาร  เป็นกรรมตรง
                    นักเรียน   พระภิกษุ  น้อง  เป็นกรรมรอง

            3.วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น
  • นาย เป็นพ่อค้าข้าว
  • เธอ คล้ายฉัน
  • ทำได้เช่นน ี้เป็นดีแน่
           4.กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น
  • เขา ย่อมไปที่นั่น
  • เขา ถูกครูดุ
  • พ่อ กำลังมา
  • น้องทำการบ้าน แล้ว
  • ฉัน ต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้   
           5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
  • นอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดี           ( ประธานของประโยค)
  • ฉันชอบไป เที่ยวกับเธอ                   ( เป็นบทกรรม )
  • ฉันมาเพื่อ ดูเขา                             ( เป็นบทขยาย )
           หน้าที่ของคำกริยา
  • คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
    • อยู่หลังประธาน เช่น เธอ กินข้าว
    • อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
  • คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
    • เด็ก เร่ร่อนยืนร้องไห้   เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
    • ปลา ตาย ไม่มีขายในตลาด ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
  • คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือบทขยาย เช่น
    • อ่าน หนังสือ ช่วยให้มีความรู้ อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
    • แม่ไม่ชอบ นอนดึก  นอนดึก  เป็นกรรมของกริยาชอบ

           4.คำวิเศษณ์                                                                                                                                                                  คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ประกอบคำนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
  • คนอ้วนต้องเดินช้า   คนผอมเดินเร็ว  ( ประกอบคำนาม " คน " )
  • เขาทั้งหมด เป็นเครือญาติกัน ( ประกอบคำสรรพนาม " เขา " )
  • เขาเป็นคนเดินเร็ว ( ประกอบคำกริยา " เดิน ")
          ชนิดของคำวิเศษณ์
         คำวิเศษณ์แบ่งเป็น 10 ชนิด
          1.ลักษณวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ เล็ก ขาว กลม หวาน ร้อน เย็น เช่น

  • น้ำร้อน อยู่ในกระติกเขียว
  • จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก
  • ผมไม่ชอบกินขนมหวาน
          2.กาลวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต โบราณ อนาคต
  • คนโบราณเป็นคนมีความคิดดีๆ
  • ฉันไปก่อน เขาไปหลัง
          3. สถานวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา เช่น
  • เธออยู่ใกล้   ฉันอยู่ไกล
  • รถเธอแล่นทางซ้าย ส่วนรถฉันแล่นทางขวา
          คำวิเศษณ์นี้ถ้ามีคำนามหรือสรรพนามอยู่ข้างหลัง คำดังกล่าวนี้จะกลายเป็นบุพบทไป เช่น  เขานั่งใกล้ฉัน  เขายืนบนบันได           เขานั่งใต้ต้นไม้
          4.ประมาณวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่มาก น้อย ที่หนึ่ง ที่สอง หลาย ต่าง บรรดา บ้าง กัน คนละ เช่น
  • เขามีสุนัขหนึ่งตัว
  • พ่อมีสวนมาก
  • บรรดา คนที่มา ล้วนแต่กินจุทั้งสิ้น
         5.นิยมวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี่ นั้น โน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เอง เฉพาะ เทียว ดอก แน่นอน จริง  เช่น
  • วิชาเฉพาะอย่างเป็นวิชาชีพ
  • คนอย่างนี้ก็มีด้วยหรือ
  • ฉันจะมาหาเธอแน่ๆ   
         6.อนิยมวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่ประกอบบอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่นๆ กี่ ไหน อะไร   เช่น
  • เธออ่านหนังสืออะไรก็ได้      
  • เธอพูดอย่างไร   คนอื่นๆก็เชื่อเธอ
  • เธอจะนั่งเก้าอี้ตัวไหนก็ได้
         7.ปฤจฉาวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความถาม หรือ ความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร ทำไมอย่างไร เช่น
  • เธอจะทำอย่างไร
  • สิ่งใดอยู่บนชั้น
  • เธอจะไปไหน
         8.ประติชญาวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ขา คะ จ๋า โว้ย เช่น
  • หนูขา หนูจะไปไหนคะ      
  • คุณครูครับ ผมส่งงานครับ
  • ปลิวโว้ย เพื่อนคอยแล้วโว้ย
         9.ประติเษธวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิใช่ มิได้ หาไม่ หามิได้ ใช่
  • เขาไม่ทำก็ไม่เป็นไร   เพราะเขามิใช่ลูกฉัน
  • ร่างกายนี้หาใช่สัตว์ ใช่บุคคล ใช่ตัวตนเราเขา
  • ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไปไม่ได
        10.ประพันธวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ชนิดที่ ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เช่น
  • เด็กคนนี้เป็นเด็กฉลาดอย่างที่ไม่ค่อยได้พบ
  • เขาพูดให้ฉันได้อาย
  • เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก
                 ที่ ซึ่ง อัน เป็นคำประพันธวิเศษณ์ต่างกับคำประพันธสรรพนาม ดังนี้
                 ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธสรรพนาม จะใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และวางติดกับนามหรือสรรพนาม ที่จะแทนและเป็นประธานของคำกริยาที่ตามมาข้างหลัง เช่น
  • คนี่อยู่นั้นเป็นครูฉัน
  • ต้นไม้ซึ่งอยู่หน้าบ้านควรตัดทิ้ง
                ส่วน ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธวิเศษณ์ จะใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะเรียงหลังคำอื่นที่ไม่ใช่เป็นคำนามหรือคำสรรพนามดังตัวอย่างข้างต้น

        หน้าที่ของคำวิเศษณ์                                                                                                                                                       
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้เป็นส่วนขยายจะขยายนาม สรรพนาม กริยา หรือ คำวิเศษณ์ และยังทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยคได้แก่
        1.ทำหน้าที่ขยายนาม
  • คนหนุ่มย่อมใจร้อนเป็นธรรมดา
  • บ้านใหญ่หลังนั้นเป็นของผม
        2.ทำหน้าที่ขยายสรรพนาม
  • ใครบ้างจะไปทำบุญ
  • ฉันเองเป็นคนเข้ามาในห้องน้ำ
        3.ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
  • เขาพูดมาก กินมาก แต่ทำน้อย
  • เมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก
        4.ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์
  • ฝนตกหนักมาก
  • เธอวิ่งเร็วจริงๆ เธอจึงชนะ    

        5.คำบุพบท
เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีควาเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
  • ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง
  • ครูทำงานเพื่อนักเรียน
  • เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
        ชนิดของคำบุพบท                                                                                                                                                           คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด
        1.คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้  
           บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ เช่น
  • ฉันซื้อสวน ของนายฉลอง                   (นามกับนาม)
  • บ้าน ของเขาใหญ่โตแท้ๆ                    (นามกับสรรพนาม)
  • อะไร ของเธออยู่ในถุงนี้                      (สรรพนามกับสรรพนาม)
           บอกความเกี่ยวข้อง
  • เธอต้องการมะม่วง ในจาน                  (นามกับนาม)
  • ฉันไป กับเขา                                        (กริยากับสรรพนาม)
  • พ่อเห็น แก่แม่                                       (กริยากับนาม)
           บอกการให้และบอกความประสงค์
  • แกงหม้อนี้เป็นของ สำหรับใส่บาตร   (นามกับกริยา)
  • พ่อให้รางวัล แก่ฉัน                              (นามกับสรรพนาม)
           บอกเวลา
  • เขามา ตั้งแต่เช้า                                  (กริยากับนาม)                       
  • เขาอยู่เมืองนอก เมื่อปีที่แล้ว             (นามกับนาม)
           บอกสถานที่
  • เธอมา จากหัวเมือง                             (กริยากับนาม)
           บอกความเปรียบเทียบ
  • เขาหนัก กว่าฉัน                                  (กริยากับนาม)
  • เขาสูง กว่าพ่อ                                     (กริยากับนาม)
        2.คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่นส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
  • ดูกร ท่านพราพมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
  • ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
  • ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
  • ช้าแต ่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้
          **ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท**          1.คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
  • เขามุ่งหน้าสู่เรือน
  • ป้ากินข้าว ด้วยมือ
  • ทุกคนควรซื่อสัตย ์ต่อหน้าที่
          2.คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
  • เขาเป็นลูกฉัน                                 ( เขาเป็นลูก ของฉัน )
  • แม่ให้เงินลูก                                  ( แม่ให้เงิน แก่ลูก )
  • ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก         ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญ ทางภาษาไทยมาก )
          3.ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
  • เธออยู่ใน                 
  • พ่อยืนอยู่ริม  
  • เขานั่ง หน้า                          
  • ใครมา ก่อน
        ตำแหน่งของคำบุพบท                                                                                                                                                       ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้        1.นำหน้าคำนาม
  • เขาเขียนจดหมาย ด้วยปากกา
  • เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
        2.นำหน้าคำสรรพนาม
  • เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
  • เขาพูด กับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
        3.นำหน้าคำกริยา 
  • เขาเห็น แก่กิน
  • โต๊ะตัวนี้จัด สำหรับอภิปรายคืนนี้
        4.นำหน้าคำวิเศษณ์ 
  • เขาวิ่งมา โดยเร็ว
  • เธอกล่าว โดยซื่อ

        6.คำสันธาน                                                                                                                                                                   คำสันธาน เป็นคำจำพวกหนึ่งที่ใช้เชื่อมคำ เชื่อมความและเชื่อมประโยคให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกันและสละสลวย
        ชนิดและหน้าที่ของคำสันธาน
        1.เชื่อมคำกับคำ ได้แก่ คำว่า และ กับ ดังตัวอย่าง
  • บุตรชายและบุตรสาวต้องเลี้ยงดูบิดาและมารดา
  • นายดำกับนายแดงเดินทางไปด้วยกัน
        2.เชื่อมประโยคกับประโยค ได้แก่ คำว่า หรือ และ เพราะ เพราะ… จึง แต่ ฯลฯ ดัง ตัวอย่าง
  • เธออยากจะได้เสื้อหรือกางเกง
  • หล่อนร้องไห้จนน้ำตาแทบเป็นสายเลือด
  • เพราะ เขาไม่ขยันอ่านหนังสือเขาจึงสอบตก
  • ผมชอบอาหารภาคเหนือแต่เขาชอบอาหารภาคใต้
        3.เชื่อมข้อความกับข้อความ ได้แก่คำว่า เพราะฉะนั้น แม้ว่า…. ก็ เพราะ…. จึง ฯลฯ เช่น
  • ชาวต่างชาติเขาเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียร ไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เขาจึงร่ำรวยจนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิด เพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้
        4.เชื่อมความให้สละสลวย ได้แก่คำว่า ก็ อันว่า อย่างไรก็ตาม อนึ่ง เป็นต้น เช่น
  • ข้าพเจ้าเห็นว่าเขาก็เป็นคนดีคนหนึ่ง
  • อันว่า กิริยามารยาทอันงดงามนั้น ย่อมเป็นที่ชื่นชมของผู้ที่พบเห็น
  • อย่างไรก็ตาม ฉันจะต้องหาทางช่วยเหลือเขาให้ได้
        **ข้อสังเกต**
            เนื่องจากหน้าที่สำคัญของคำสันธาน ได้แก่ การเชื่อมคำ ประโยค และข้อความ ให้เกี่ยวเนื่องกันนั้น โปรดดูเพิ่มเติมในบทว่าด้วยเรื่องประโยค

         7.คำอุทาน                                                                                                                                                                    คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยไม่คำนึงถึงความหมาย แต่เน้นที่การแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูด
        ชนิดของคำอุทาน
        1.คำอุทานบอกอาการ คือ คำอุทานที่เปล่งออกมาเพื่อให้รู้อาการต่าง ๆ ของผู้พูด เช่น อาการดีใจ เสียใจ ตกใจ และประหลาดใจ เป็นต้น ได้แก่คำว่า เอ๊ะ โอ๊ย อ๊ะ เฮ่ เฮ้ย โธ่ อนิจจา แหม ว้า ว้าย วุ้ย เป็นต้น อนึ่ง หลังคำอุทานพวกนี้มักมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับเสมอ ดังตัวอย่าง
  • แหม! หล่อจริง
  • เฮ้ย! อย่าเดินไปทางนั้น
  • โธ่! หมดกัน
       2.คำอุทานเสริมบท คือ คำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือเสริมบท เพื่อให้เสียงหรือความกระชับสละสลวยขึ้น แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
          2.1 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำสร้อย ส่วนมากพบเป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายบทประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย เติมลงไปเพื่อแสดงความรู้สึกบ้าง เพื่อทำให้คำประพันธ์มีพยางค์ครบตามฉันทลักษณ์บ้าง ได้แก่คำว่า โอ้ อ้า โอ้ว่า เถิด นา พ่อ แฮ เฮย เอย ฯลฯ ดังตัวอย่าง
  • โอ้ ศรีเสาวลักษณ์ล้ำ แลโลม โลกเอย
  • โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ
  • พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงนา
         2.2 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำแทรกระหว่างคำหรือข้อความ ได้แก่คำว่า นา เอย เอ่ย เอ๋ย โวย ฯลฯ ดังตัวอย่าง
  • เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
  • สัตว์อะไรเอ่ยไม่มีหัว
  • กบเอยทำไมจึงร้อง
         2.3 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำเสริม เพื่อต่อถ้อยคำข้างหน้าให้ยาวออกไป แต่ไม่ต้องการความหมายที่เสริมนั้น ดังตัวอย่าง
  • วัดวาอาราม
  • รถรา
  • หนังสือหนังหา
  • ผ้าผ่อนท่อนสไบ




คำชี้แจง    ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.    การใช้ระดับเสียงให้มีความแตกต่างกันในขณะที่อ่าน มีประโยชน์ต่อการอ่านเนื้อหาสาระในข้อใดมาก    ที่สุด
    1.    นิทาน
    2.    ปาฐกถา
    3.    แถลงการณ์
    4.    พระบรมราโชวาท


2.    ประโยคในข้อใดอ่านออกเสียงไม้ยมกแตกต่างจากข้ออื่น


    1.    เธอเห็นลูกแมวตัวสีดำ ๆ วิ่งมาทางนี้บ้างหรือไม่
    2.    เด็กตัวเล็ก ๆ เมื่อตะกี้ เป็นหลานชายของฉันเอง
    3.    ในวันหนึ่ง ๆ ป้าแกต้องอาบเหงื่อต่างน้ำหาบของไปขายทุกวัน
    4.    ทุก ๆ วัน แถวนี้จะเต็มไปด้วยรถนานาชนิดที่ทำให้การจราจรคับคั่ง




3.     ข้อความใดแบ่งจังหวะวรรคตอนในการอ่านได้ถูกต้อง
  
1.     มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการใน
ที่ นี้หมายถึง/
    2.    เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารถ        จัดการ/สิ่งต่างๆ ได้
    3.    เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสามารถจัดการร่างกายของเรา        ได้
    4.    โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆ ว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไม่ได้/        รวมทั้งความตาย


4.    ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความสำคัญ
    1.    การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสาร
    2.    ใจความสำคัญคือความคิดสำคัญหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง
  1. การจับใจความสำคัญสามารถทำได้ทั้งการรับสารด้วยการอ่านและการฟัง
  2. การจับใจความสำคัญด้วยการฟังไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมก่อนการฟัง

  1. “ท้องฟ้ามีอยู่แบบท้องฟ้า ก้อนเมฆลอยอยู่แบบก้อนเมฆ พระอาทิตย์สาดแสงในแบบของพระอาทิตย์                 นกร้องแบบที่มันร้อง ดอกไม้สวยงามเป็นธรรมชาติของดอกไม้ ลมพัดเพราะมันคือลม หอยทากเดินช้าอย่างที่หอยทากเป็น เหมือนธรรมชาติกำลังกระซิบบอกฉันว่ามันเพียงเป็นของมันอย่างนั้น มันไม่ร้องขอ ฉันจะมองเห็นมัน หรือไม่เห็นมัน มันไม่เรียกร้องให้ต้องชื่นชม ต้องแลกเปลี่ยน ต้องขอบคุณ เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ได้ต้องการอะไร มันเพียงแต่เป็นไป ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของมัน” ใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด
  1. ธรรมชาติไม่เคยสนใจมนุษย์
  2. ธรรมชาติไม่เคยเรียกร้องอะไรจากมนุษย์
  3. ธรรมชาติไม่ต้องการคำชื่นชมจากมนุษย์
  4. ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ ล้วนมีความสวยงาม

6.     คำในข้อใดมีความหมายอ้อม
1.     น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
  1. อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
  2. โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม
  3. ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

7.     ข้อใดสำคัญที่สุดในการเขียนกรอบความคิด
    1.     การจับใจความสำคัญ
    2.    การลากเส้นโยงนำความคิด
  1. การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ
  2. การใช้ภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง

8.     “คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว ยังคงอยากได้อะไรที่มากขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงหรือ    ความรัก และก็มักจะไม่ได้ดังใจนึก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้นด้วย” ใจความสำคัญของ    ข้อความนี้ตรงกับข้อใด
  1. ความอยากของมนุษย์เพิ่มตามอายุ
  2. คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้น
  3. ถ้ามนุษย์อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะยิ่งมีแต่ความทุกข์
  4. ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง

9.     ข้อใดให้ความหมายของคำว่า “วิเคราะห์” ได้ถูกต้องที่สุด
  1. พิจารณาความหมายแฝงเร้นของเรื่อง
  2. พิจารณาเจตนาหรือแนวคิดสำคัญของเรื่อง
  3. พิจารณาย่อหน้าเพื่อจับสาระสำคัญของเรื่อง
  4. พิจารณาแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่อง

10.     “ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์        บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล
        สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล            จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา”
    ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองข้างต้นตรงกับข้อใด
  1. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว
  2. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว
  3. เป็นผู้หญิงต้องงดเว้นการนินทาว่าร้าย
  4. เป็นผู้หญิงต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

11.     ข้อใดเป็นวิธีการอ่านตีความร้อยกรอง
  1. ตีความจากสาระสำคัญของเรื่อง
  2. ตีความถ้อยคำโดยพิจารณาจากบริบท
  3. ตีความข้อความโดยเปรียบเทียบสำนวนโวหารที่ใช้
  4. ตีความโดยทำความเข้าใจเรื่องภาษาภาพพจน์ที่ใช้ในงานเขียน

12.     ข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง
  1. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า
  2. เล่าเรื่อง บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท ประเมินค่า
  3. เล่าเรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง ประเมินค่า
  4. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า

13.     การอ่านวินิจสารมีความลึกซึ้งแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นใด
  1. การสรุปเนื้อหา
  2. การบอกประเภท
  3. การประเมินคุณค่า
  4. การบอกองค์ประกอบ

14.     ข้อใดปรากฏคำที่มีความหมายโดยนัย
  1. ปฐมพงษ์เดินไปที่ห้องครัวแล้วลื่นล้มเตะแก้วแตก
  2. กระโปรงตัวนี้ตัดเย็บสวยเตะตาฉันจริง ๆ เชียว! เธอ
  3. โด่งซ้อมเตะฟุตบอลที่สนามกีฬาของโรงเรียนทุก ๆ เย็น
  4. จ้อยเตะสุนัขที่กำลังจะเดินตรงเข้ามากัดที่โคนขาของเขา

15.     จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการคัดลายมือตรงกับข้อใด
  1. ฝึกฝนสมาธิให้แก่ตนเอง
  2. ฝึกฝนความเพียรพยายามให้แก่ตนเอง
  3. เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบตัวอักษรไทย
  4. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ

16.     การระบุว่าข้อความหนึ่ง ๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด ข้อใดคือจุดสังเกตสำคัญ
  1. การเว้นช่องไฟ
  2. โครงสร้างของตัวอักษร
  3. การลงน้ำหนักมือบนตัวอักษร
  4. ความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษร

17.     ลายมือที่ไม่ชัดเจนเป็นผลเสียอย่างไร
  1. ทำให้งานเขียนไม่น่าสนใจ
  2. ทำให้วิเคราะห์ผลงานไม่ได้
  3. ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร
  4. ทำให้สื่อสารไม่ตรงวัตถุประสงค์

18.    รูปประโยคต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
  1. เขาทำอะไรเก้งก้างไม่ทันกิน
  2. ตำรวจกำลังซักฟอกผู้ต้องหา
  3. พจน์ร้องเพลงเสียงหวานปานนกการเวก
  4. ออมเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่

19.    “ชุ่มคอโดนใจ” เป็นงานเขียนประเภทใด
  1. คำคม
  2. คำขวัญ
  3. โฆษณา
  4. คำแนะนำ

20.    ถ้าต้องเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่กำหนด ภาษาที่ใช้ในการเขียน ควรมี    ลักษณะอย่างไร
  1. ข้อความสั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
  2. ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย แต่อ่านเข้าใจง่าย
  3. ภาษาแบบแผน ใช้ศัพท์วิชาการสูงๆ
  4. ภาษากึ่งแบบแผนหรือแบบแผน

    แนวข้อสอบ O-Net   วิชา ภาษาไทย

ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
1.
1
การอ่านออกเสียงพระบรมราโชวาท ปาฐกถาและแถลงการณ์ ผู้อ่านออกเสียงจะต้องมุ่งเน้นไปที่การแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการสื่อความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ยังต้องออกเสียงคำให้ชัดเจน เช่น คำควบกล้ำ อักษรนำ  เป็นต้น แต่การอ่านนิทานซึ่งมีเนื้อหาในการเสริมสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง การใช้ระดับเสียงให้แตกต่างในขณะที่อ่าน มีความหนัก เบา สูง ต่ำ จะช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตามและสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องได้ง่ายขึ้น
2.
3
การอ่านเครื่องหมาย ๆ ไม้ยมก ที่ใช้วางหลังคำหรือข้อความที่ต้องการให้อ่านออกเสียงซ้ำ ซึ่งอาจซ้ำคำเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคำก็ได้ แล้วแต่ความหมาย การอ่านไม้ยมกจึงสามารถอ่านได้หลายแบบ เช่น อ่านซ้ำคำ ของดีๆ อ่านว่า ของ-ดี-ดี อ่านซ้ำกลุ่มคำ เช่น วันละคนๆ อ่านว่า วัน-ละ-คน-วัน-ละ-คน อ่านซ้ำประโยค เช่น โอเลี้ยงมาแล้วครับๆ อ่านว่า โอ-เลี้ยง-มา-แล้ว-ครับ โอ-เลี้ยง-มา-แล้ว-ครับ จากตัวเลือกที่กำหนด ข้อ 1. อ่านว่า สี-ดำ-ดำ ข้อ 2. อ่านว่า ตัว-เล็ก-เล็ก ข้อ 4. อ่านว่า ทุก-ทุก-วัน ส่วนข้อ 3. อ่านว่า ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
3.
4
การแบ่งวรรคตอน หรือการแบ่งจังหวะเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการอ่านออกเสียง เพราะการแบ่งวรรคตอนที่ผิดพลาด อาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาสาระของสารคลาดเคลื่อนไป
4.
4
การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสารไม่ว่าด้วยวิธีการอ่านหรือฟัง ผู้รับสารจะต้องค้นหาความคิดสำคัญหรือประเด็นของเรื่องให้ได้ ซึ่งการจับใจความสำคัญด้วยการฟัง หากผู้ฟังพอจะทราบหัวข้อของการฟังก็ควรที่จะเตรียมความพร้อม โดยหาความรู้เบื้องต้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
5.
4
จากข้อความได้กล่าวถึง ความเป็นไปของธรรมชาติ ธรรมชาติทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามแบบฉบับของมัน และด้วยความที่เป็นธรรมชาติมันจึงสวยงาม
6.
1
เพราะเป็นสำนวนที่มีความหมายว่า จังหวะหรือโอกาสของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็ได้เปรียบ เป็นฝ่ายมีชัย

ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
7.
1
การเขียนกรอบแนวคิดที่ดี ผู้เขียนจะต้องสามารถจับใจความ หรือเก็บรายละเอียดของสิ่งที่ได้ฟังและดู เพื่อนำมาถ่ายทอดเป็นกรอบความคิดได้ครบถ้วน ตรงประเด็น
8.
3
สาระสำคัญของข้อความที่กำหนด คือ มนุษย์ทุกคนมีความอยาก ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เมื่ออยากได้ก็ย่อมมีแต่ความทุกข์ที่ไม่มีสิ้นสุดเช่นกัน
9.
4
ในการรับสาร นอกจากการทำความเข้าใจสารแล้ว ผู้รับสารจำเป็นต้องวิเคราะห์สารที่ได้รับมานั้น ว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อผู้รับสารสามารถวิเคราะห์หรือแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่องได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
10.
1
พิจารณาจากข้อความที่ปรากฏในบทประพันธ์ ในวรรคที่สามหรือวรรครอง ปรากฏคำว่า สงวนงาม โดยมีความหมายว่า ให้ระวังรักษาตนทั้งกาย วาจา ใจ ให้มีความเหมาะสม งดงาม ซึ่งการประพฤติผิดหรือไม่ถูกต้องตามค่านิยม และมักได้รับการนินทาว่าร้ายมากที่สุดคือ การไม่รักนวลสงวนตัว ซึ่งนักเรียนต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า ตัวเลือกในข้อใดมีความสอดคล้องกับคำข้างต้นมากที่สุด ซึ่งคำตอบในข้อ 2., 3. และ 4. ไม่มีความสัมพันธ์กับคำว่า สงวนงาม
11.
1
บทร้อยกรอง เป็นบทอ่านที่ผู้อ่านจะต้องถอดความสาระสำคัญออกมาเป็นร้อยแก้วก่อน แล้วจึงตีความ จากสาระสำคัญของเรื่อง
12.
2
การอ่านเพื่อประเมินคุณค่าสาร เริ่มจากผู้อ่านจะต้องอ่านเรื่องให้จบตลอดทั้งเรื่อง เพื่อให้เล่าเรื่องได้ บอกจุดมุ่งหมายของเรื่อง วิเคราะห์ส่วนประกอบภายในเรื่อง กล่าวถึงบริบทแวดล้อมเรื่องที่อ่าน แล้วจึงประเมินค่า
13.
3
การอ่านวินิจสารมีความแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นของการประเมินคุณค่า เพราะการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นเพียงการอ่านเพื่อให้ทราบว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ในขณะที่การอ่านวินิจสาร ผู้อ่านจะต้องบอกได้ว่าเรื่องที่อ่านมีคุณค่าอย่างไร
14.
2
เมื่อพิจารณาจากตัวเลือกทั้ง 4 ข้อ คำที่จะต้องพิจารณาคือคำว่า “เตะ” ซึ่งข้อ 1., 3. และ 4. คำว่า “เตะ” เป็นคำกริยาที่มีความหมายปรากฏตามรูปคำหรือมีความหมายนัยตรง โดยหมายถึง “วัดหรือเหวี่ยงไปด้วยเท้า” ส่วนคำว่า “เตะ” ในข้อ 2. มีความหมายโดยนัยซึ่งหมายถึง “สะดุดตา”


       
ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
15.
3
ผู้ที่ฝึกฝนคัดลายมืออย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เป็นผู้ที่มีลายมือถูกต้อง เรียบร้อย สวยงาม ฝึกสมาธิ และความเพียรพยายาม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ภาคภูมิใจในมรดกของชาติ แต่จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการกำหนดให้เยาวชนไทยต้องฝึกฝนการคัดลายมือก็เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐาน รักษาแบบแผนอักษรไทยไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง จนกระทั่งสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ไปในที่สุด
16.
2
การจะระบุว่าข้อความหนึ่งๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด คือ การสังเกตโครงสร้างของตัวอักษรว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น การเขียนส่วนหัว การโค้ง การหยัก แนวเส้น   เป็นต้น ส่วนการเว้นช่องไฟ การลงน้ำหนักมือ และความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษรที่คัด เป็นเกณฑ์ที่ใช้สำหรับวัดคุณภาพของลายมือ เพื่อการตัดสินประกวดคัดลายมือ หรือใช้เป็นแนวทางเพื่อฝึกฝนคัดลายมือ
17.
4
การเขียนสื่อสารครั้งหนึ่งๆ เมื่อเขียนพยัญชนะ ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่างๆ ด้วยลายมือที่ไม่ชัดเจน จะทำให้ผู้รับสาร อาจรับสารผิดพลาดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากไม่สามารถอ่านลายมือได้
18.
2
จากตัวเลือกข้อ 4. ประโยคที่ถูกต้องคือ ออมเป็นคนสงบเสงี่ยมเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่ ข้อ 3. ประโยคที่ถูกต้องคือ พจน์ร้องเพลงเสียงปานนกการเวก ข้อ 1. ประโยคที่ถูกต้องคือ เขาทำอะไรงุ่มง่ามไม่ทันกิน
19.
3
ชุ่มคอโดนใจ เป็นงานเขียนประเภทโฆษณา เพราะเนื้อหาสาระมีความมุ่งหมายให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
20
4
การเขียนจดหมายกิจธุระ เพื่อขอความอนุเคราะห์วิทยากร ผู้เขียนควรใช้ภาษากึ่งแบบแผน หรือภาษาแบบแผน เพื่อให้ผู้รับเกิดความประทับใจ ยินดีให้ความอนุเคราะห์



  
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น